วันที่ 22 เม.ย. นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค.แถลงหลังการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ เผย กรมควบคุมโรคโดยกระทรวงสาธารณสุข ขณะนี้บางกลุ่มจังหวัดบางกลุ่ม ยังอยู่ในระยะการต่อสู้ เพราะเป็นช่วงขาขึ้น บางจังหวัดอยู่ในระดับทรงตัว และบางจังหวัดขาลง สถานการณ์ไม่เท่ากัน ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
1. กลุ่มแรก จังหวัดขาขึ้น อยู่ในระยะการต่อสู้ (Combating) มี 21 จังหวัด ได้แก่ ลำพูน แพร่ ลำปาง พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร นครสวรรค์ สกลนคร บึงกาฬ เลย อุดรธานี ขอนแก่น นครพนม หนองคาย ยโสธร มหาสารคาม ศรีสะเกษ นนทบุรี นครนายก กาญจนบุรี และ อุทัยธานี
2. กลุ่มสอง จังหวัดระยะทรงตัว (Plateau) 44 จังหวัด ได้แก่ กทม. แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ น่าน เพชรบุรณ์ อุตรดิตถ์ พะเยา พิจิตร ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี สิงห์บุรี ลพบุรี ตาก สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ราชบุรี นครปฐม อ่างทอง สระบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุพรรณบุรี พัทลุง พังงา ชุมพร ชลบุรี สมุทรปราการ มุกดาหาร ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ระยอง ปราจีนบุรี ตราด สระแก้ว หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุบลราชธานี นครราชสีมา ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และ สุรินทร์
3. กลุ่มสาม ระยะขาลง (Declining) มี 12 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี กระบี่ ระนอง ตรัง นครศรีธรรมราช ภูเก็ต สตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี และ นราธิวาส
สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าแต่ละจังหวัดมีความแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม ณ ตอนนี้ในการจะประกาศเป็นโรคประจำถิ่น ต้องขึ้นอยู่กับการช่วยกันในเรื่องของอัตราผู้เสียชีวิต ซึ่งจะเป็นเรื่องสำคัญที่จะบอกว่าไปถึงระยะนั้นแล้วหรือไม่ คือต้องน้อยกว่า 0.1% ในรายสัปดาห์ เป็นจำนวน 2 สัปดาห์ติดต่อกัน ซึ่ง ณ ตอนนี้เราใช้อัตราส่วนผู้เสียชีวิตจากโควิดหารด้วยผู้ป่วยโควิดรักษาแล้วคูณร้อย นั่นคือต้องทำให้อัตราการเสียชีวิตต่ำไปกว่านี้ เราก็จะได้นำไปสู่การประกาศเข้าเป็นโรคประจำถิ่น